วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พื้นฐานในการเล่น


เด็ค ( Main Deck )
- เด็ค: คือกองการ์ดที่จัดเรียงไว้เพื่อใช้ในการเล่น

- จำนวนจำกัดของ Main Deck อยู่ที่เท่ากับหรือมากกว่า 40 ใบ แต่ไม่เกิน 60 ใบ (ตาม Master Rule) โดยจะประกอบไปได้การ์ดมอนสเตอร์ เวทย์ และกับดัก (การ์ดมอนสเตอร์ที่จะไม่ใส่รวมอยู่ใน Main Deck จะมี 2 ประเภท คือมอนสเตอร์ฟิวชั่น และมอนสเตอร์ซิงโคร)

- การ์ดที่มีชื่อเดียวกันจะไม่สามารถใส่ในเด็คซ้กกันได้เกิน 3 ใบ (ซึ่งรวมถึงทั้งใน Side Deck ด้วย)

- การ์ดบางใบที่อยู่ใน Banned&Restricted List ที่ประกาศโดยโคนามิ จะสามารถใส่ในเด็คได้ในจำนวนจำกัดตามที่มีระบุไว้

- ขณะเล่น กองการ์ดเราจะต้องถูกวางอยู่ในสภาพคว่ำ บนโซนที่มีไว้วางกองเด็คโดยเฉพาะ

- ในระหว่างแมทช์ จำนวนการ์ดใน Main Deck จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน



 ไซด์เด็ค ( Side Deck )
- ไซด์เด็ค: เป็นกองการ์ดพิเศษที่อยู่นอกเหนือจากเด็ค, เป็นการ์ดสำรองเพื่อนำมาใช้เปลี่ยนระหว่างแมทช์ เพื่อปรับเปลี่ยนความได้เปรียบเสียเปรียบของเด็คเรากับเด็คอีกฝ่าย

- จำนวนการ์ดในไซด์เด็ค และเมนเด็ค จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง, ระหว่างแมทช์จะให้สิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการ์ดในเมนเด็ค กับไซด์เด็คเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำการ์ดไซด์เด็คไปเพิ่มให้กับเมนเด็ค หรือนำการ์ดในเมนเด็คออกมารวมกับไซด์เด็คอย่างเดียวได้ (เช่น ถ้าเมนเด็คเรามี 40 ใบ และมีไซด์เด็ค 15 ใบ ตลอดแมทช์นั้น ก็ต้องมีจำนวนการ์ดเท่าเดิมตลอด)

- การ์ดที่อยู่ในไซด์เด็ค จะเป็น การ์ดมอนสเตอร์ เวทย์ และกับดัก (ในกรณีมอนสเตอร์ฟิวชั่น และมอนสเตอร์ซิงโคร จะไม่นำมาอยู่ในไซด์เด็ค แต่จะถูกวางไว้ใน Extra Deck แทน

- จำนวนการ์ดในไซด์เด็คสามารถมีได้ 15 ใบหรือน้อยกว่าก็ได้

- การ์ดที่มีชื่อเดียวกันจะไม่สามารถใส่ในเด็คซ้กกันได้เกิน 3 ใบ (ซึ่งรวมถึงทั้งใน Main Deck ด้วย)

- การ์ดบางใบที่อยู่ใน Banned&Restricted List ที่ประกาศโดยโคนามิ จะสามารถใส่ในไซด์เด็ค และรวมทั้งเมนเด็คได้ในจำนวนจำกัดตามที่มีระบุไว้ด้วย



เอ็กซ์ตร้าเด็ค ( Extra Deck )

- เอ็กซ์ตร้าเด็ค: เป็นกองการ์ดพิเศษที่อยู่นอกเหนือจากเด็ค ซึ่งจะมีแต่มอนสเตอร์ฟิวชั่น และมอนสเตอร์ซิงโครรวมอยู่ด้วยกันเท่านั้น

- การ์ดที่อยู่ในกองนี้จะอยู่แยกต่างหากจากทั้ง เมนเด็ค และไซด์เด็ค ไม่นับรวมกันด้วย

- จำนวนจำกัดของ Extra Deck จะอยู่ที่ 0 - 15 ใบเท่านั้น

- การ์ดที่มีชื่อเดียวกันจะไม่สามารถใส่ในเด็คซ้ำกันได้เกิน 3 ใบ

- การ์ดบางใบที่อยู่ใน Banned&Restricted List ที่ประกาศโดยโคนามิ จะสามารถใส่ใน Extra Deck ได้ในจำนวนจำกัดตามที่มีระบุไว้

- ขณะเล่น กองการ์ด Extra Deck ของเราจะต้องถูกวางอยู่ในสภาพคว่ำ บนโซนที่จัดไว้เฉพาะ

- ไม่จำเป็นต้องทำการสับกองการ์ดใน Extra Deck

- เอฟเฟคการ์ดที่มีระบุผลถึง "เด็ค" จะหมายถึง เมนเด็ค เพียงอย่างเดียว ไม่นับรวมถึง เอ็กซ์ตร้าเด็ค ด้วย เช่นเอฟเฟคของ หนอนเจาะเด็ค เป็นต้น

- กรณีที่มอนสเตอร์ฟิวชั่น และมอนสเตอร์ซิงโคร ถูกส่งกลับเข้าเด็ค หรือกลับขึ้นมือ, มอนสเตอร์เหล่านั้นจะถูกนำกลับเข้า Extra Deck แทน

- เราสามารถมีการ์ดใน Extra Deck ได้ถึงแม้เราจะไม่มีมอนสเตอร์วัตถุดิบใดๆ ในเด็คเราที่ใช้ในการเรียกมอนสเตอร์จาก Extra Deckได้เลยก็ตาม


การจำกัดจำนวนการ์ดที่ใส่ได้ในเด็ค
- การ์ดที่มีชื่อเดียวกันจะสามารถใส่รวมกันในเด็คได้มากสุดเพียง 3 ใบเท่านั้น

- กรณีที่การ์ดมีชื่อเดียวกัน แต่มีภาพที่เปลี่ยนไป เช่นพิมพ์รูปใหม่ หรือมีรหัสการ์ดต่างกัน ก็ยังคงนับว่าเป็นใบเดียวกันเช่นเดิม และยังคงใส่ได้มากสุด 3 ใบตามปรกติ

- กรณีที่ชื่อการ์ดไม่เหมือนกัน เอฟเฟคต่างกัน รูปต่างกัน แต่มีเอฟเฟคที่ระบุว่าให้นับว่าเป็นชื่อเดียวกัน, ก็ให้นับว่าเป็นการ์ดที่ชื่อเดียวกันนั้นและยังคงใส่ได้มากสุด 3 ใบตามปรกติ

- การ์ดที่ระบุไว้ใน Banned&Restricted List ที่ประกาศโดย Konami โดยจะใส่ได้ในจำนวนจำกัดตามที่มีระบุไว้ด้วย โดยการ์ดที่จำกัดส่วนใหญ่จะมีสาเหตุจากความแรงของการ์ดที่มีมากเกินไปเฉพาะใบ หรืออาจทำให้เกิดคอมโบรุนแรงจนทำให้ตัวเกมเสียความสมดุลไป จึงต้องมีการจำกัดจำนวนเพื่อปรับความสมดุลให้เหมาะสม. โดยจะมีการประกาศลิสต์ใหม่ทุกๆ ครึ่งปี (ช่วงเดือน มีนาคม และ กันยายน ของทุกปี)


Main Deck และ Side Deck

- กรณีที่เป็นการ์ดที่ระบุว่าอยู่ใน Banned&Restricted List ก็จะหมายความว่า สามารถใส่ได้ทั้งใน เมนเด็ค และไซด์เด็ค เพียงเท่าที่จำกัด

จำนวนไว้เท่านั้น เช่น ดาบผนึกแห่งแสง ใส่ได้เพียงใบเดียว หากมีอยู่ในเมนเด็ค 1 ใบ ก็จะไม่สามารถใส่เพิ่มในไซด์เด็คอีกได้


การใช้การ์ดผสมระหว่างการ์ดภาษาญี่ปุ่น กับภาษาอื่นๆ

- ในบางครั้งการ์ดใบเดียวกันแต่เป็นการ์ดคนละภาษา, อาจจะใช้ชื่อการ์ด และรูปไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงควรตรวจสอบการ์ดให้ดีๆ ก่อนว่าใช่การ์ดใบเดียวกันกับการ์ดต้นแบบที่เราเล่นอยู่หรือไม่

- เนื่องจากการ์ดแต่ละภาษาจะมีด้านหลังของการ์ดที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้เล่นควรใส่ซองการ์ดแบบสีทึบปิดด้านหลังไว้ขณะเล่นด้วย


อุปกรณ์ต่างๆ เสริมในการเล่นก็ยังมีอีกดังนี้
-เหรียญ จำเป็นใช้เมื่อต้องมีเอฟเฟคที่ระบุถึงการทอยเหรียญและต้องเป็นเหรียญที่มี 2 ด้าน โดยกำหนดให้ด้านหนึ่งเป็น หัว และอีกด้านเป็น ก้อย ได้

- ลูกเต๋า  จำเป็นใช้เมื่อต้องมีเอฟเฟคที่ระบุถึงการทอยเต๋าและต้องเป็นลูกเต๋าที่มี
 6 หน้าเท่านั้น และมีแต้มเลขตั้งแต่ 1 ถึง 6

- เคาเตอร์ หรือ เม็ดเคาเตอร์ เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องหมายหรือแต้มที่สามารถนำมาเพิ่มได้ทุกครั้งที่มีเอฟเฟค ระบุในการเพิ่มเคาเตอร์บนการ์ดที่ระบุไว้เครื่องหมาย หรือแต้ม ที่นำไปเพิ่มอาจใช้ คลิปหนีบกระดาษ เหรียญ ลูกเต่า หรือของอื่นๆ ที่จะสามารถนำมาใช้นับจำนวนได้ นำมาวางแทนเคาเตอร์ที่อยู่บนการ์ดโดยเอฟเฟคนั้นๆ

-มอนสเตอร์โทเค่น โทเค่น เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยเอฟเฟคของการ์ด, เป็นมอนสเตอร์ที่ไม่มีตัวการ์ดแสดงอยู่สามารถใช้ คลิปหนีบกระดาษ เหรียญ หรือสิ่งของอื่นๆ มาแทนได้, ถ้าให้ดีก็ควรเป็นสิ่งที่สามารถกำหนดให้โจมตีหรือป้องกันได้อย่างเห็น
ชัดเจนที่สุด
และตามด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ

- เครื่องคิดเลข ใช้เพื่อคำนวณไลฟ์พอยน์ของทั้ง 2 ฝ่ายให้ง่ายขึ้น

- สมุดโน้ต หรือ กระดาษ  ใช้ในกรณีที่ไม่มีเครื่องคิดเลขให้ใช้นั่นเอง

- ซองใส่การ์ด  ใช้ในกรณีที่การ์ดที่ใช้เล่นเป็นการ์ดแท้ เพื่อป้องกันไม่ให้การ์ดเกิดความเสียหายในขณะเล่น และเพื่อปิดด้านหลังของการ์ดเพราะการ์ดญี่ปุ่นและอังกฤษหรือภาษาอื่น จะมีภาพด้านหลังไม่เหมือนกัน จึงใช้เพื่อความยุติธรรมกับผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย




รูปแบบสนามในการใช้เล่น




ภายในสนามจะประกอบด้วย
A. Field Card Zone  ช่องวางเวทย์สนาม
เวทย์สนามสามารถเปิดใช้งานหรือเซ็ตคว่ำได้ในช่องนี้ เวทย์สนาม 1 ใบสามารถวางอยู่บนสนามได้แค่ใบเดียวเท่านั้น โดยนับรวมทั้งสนามเราและฝ่ายตรงข้าม

B. Monster Card Zone  ช่องวางมอนสเตอร์
สามารถลงมอนสเตอร์ในแบบหงายหน้าหรือเซ็ตคว่ำโดยจะมีจำนวนช่องที่จะวางได้เท่ากับ 5 ช่องเท่านั้น ช่องวางมอนสเตอร์มีจำนวนจำกัดได้สูงสุดแค่ 5 ช่องเท่านั้น หากมีมอนสเตอร์ครบ 5 ช่องแล้วจะไม่สามารถลงหรือเซ็ตมอนส์เตอร์เพิ่มได้อีกจนกว่าจะมีช่องให้ลงเพิ่ม

C. Extra Deck Zone  ช่องวางกองเอ็กซ์ตร้าเด็ค
หากเรามีมอนสเตอร์ฟิวชั่นหรือมอนสเตอร์ซิงโคร เราต้องนำการ์ดมอนสเตอร์เหล่านั้นทุกใบรวมกันเป็นกองเดียวกัน แล้ววางคว่ำไว้บนช่องนี้

D. Graveyard  ช่องวางสุสาน
เมื่อมีการ์ดถูกทำลายหรือถูกส่งลงสุสาน การ์ดเหล่านั้นจะอยู่บนช่องนี้ในสภาพหงายหน้า ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสามารถดูการ์ดในสุสานของตัวเองหรืออีกฝ่ายได้แต่อย่าลืมขออนุญาตผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก่อนหากจะตรวจดูการ์ดในสุสานอีกฝ่าย

E. Magic & Trap Card Zone  ช่องวางเวทย์และกับดัก
เวทย์และกับดักทุกใบสามารถเปิดใช้ทำงานแบบหงายหรือเซ็ตคว่ำได้บนช่องนี้ ซึ่งช่องวางเวทย์/กับดักนี้จะมีจำกัดสูงสุด 5 ช่องเท่านั้น ช่องวางเวทย์และกับดักมีจำนวนวางได้สูงสุดแค่ 5 ช่องเท่านั้น หากมีการ์ดที่กำลังเปิดใช้อยู่หรือเซ็ตคว่ำอยู่บนสนามแล้วครบ 5 ช่องจะไม่สามารถเปิดใช้ทำงานเวทย์จากบนมือหรือเซ็ตคว่ำการ์ดเวทย์/กับดักลงไปเพิ่มบนสนามได้อีกและเวทย์สนามจะไม่สามารถใช้งานหรือเซ็ตคว่ำได้ในช่องเหล่านี้

F. Deck Zone  ช่องวางกองการ์ด/เด็ค
ใช้วางกองเด็คของเราโดยต้องวางในสภาพคว่ำ
ซึ่งไซด์เด็ค จะถูกนำแยกออกจากสนามที่ใช้เล่น ไม่อยู่บนสนามที่ใช้เล่นด้วย



Credit by kidcardth

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น