วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การ์ดยูกิ คืออะไร


YU-GI-OH นั้นเป็นการ์ตูนแนวต่อสู้โดยการใช้ "การ์ดเกม" เป็นหลัก ผลงานของ คะซุกิ ทะกะฮะชิ การ์ดยูกินั้นเป็นการ์ดเกมอีกรูปแบบหนึ่งแน่นอนว่ามันไม่ใช่ไพ่และไม่เกี่ยวกับการพนัน ซึ่งหลายๆ คนคงเคยได้ยินและได้ลองเล่นกันมาบ้างแล้ว ซึ่งการ์ดยูกิจะเล่นโดยใช้ผู้เล่น 2 คนแล้วหันหน้าเล่นกัน

โดยทั่วไปในการเล่น 1 Match จะประกอบไปด้วย 3 Duels ซึ่งผู้เล่นแต่ละคนก็ต้องใช้ความสามารถ, การเตรียมพร้อมวางแผนการเล่น และสิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ที่เคยเล่นแล้วนอกจากการตัดสินใจแล้วสิ่งที่สามารถพลิกเกมขึ้นมาได้คือดวง!!! นั่นเอง

ในการกำหนดผู้ชนะใน Match นั้นๆ โดยวิธีการเอาชนะนั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบและแผนการเล่นของแต่ละคนในหลายๆ รูปแบบ ซึ่งจะพูดต่อในเรื่องของกติกาในการเล่น

ในการเล่นนั้นสิ่งที่จะใช้ตัดสินในการเล่นคือ LP หรือ Life Point ซึ่งเป็นเหมือนจำนวนเลือดนั่นเอง โดยปกติ ในการเล่นแต่ละครั้งจะใช้ LP คนละ 8,000 Point หากฝ่ายไหนเป็น 0 ก็จะถือว่าแพ้นั่นเอง

ซึ่งสิ่งที่เป็นเสน่ของการ์ดยูกิคือ เป็นเกมการ์ดที่มีรูปแบบการเล่น และความสามารถที่หลากหลายอย่างมาก โดยผู้เล่นสามารถที่จะทำการพลิกแพลงเทคนิคต่าง ๆ ได้ตลอดเวลาทำให้การเล่นไม่น่าเบื่อหรือซ้ำซากจำเจ

การ์ดยูกิจะแบ่งออกเป็น2 ฝั่งได้แก่ 
OCG (Official Card Game)  และ  TCG (Trading Card Game)
ซึ่งพูดกันตรงๆ คือ ทาง OCG (Official Card Game) การ์ดยูกิทางด้านญี่ปุ่น ส่วน TCG (Trading Card Game) เป็นคำย่อซึ่งหมายถึงการ์ดยูกิในทางฝั่งบริษัท Upperdeck ทางด้านอเมริกา นั่นเอง และไม่ใช่แค่นั้นในเมื่อมีบริษัทแบบนั้นแล้วคงหนีไม่พ้นการแข่งขันแน่นอน ซึ่งทั้ง 2 ฝั่งก็ได้จัดขึ้นเป็น Tournament ซึ่งจะเป็นงานใหญ่หรือเล็กก็ตามแต่ ที่แน่นอนสิ่งที่ตามมานั่นคือ Banlist บางคนเอาจะสงสัยว่ามันคืออะไร Banlist นั่นคือการกำหนดข้อจำกัดของจำนวนการ์ดนั่นเอง


Credit by kidcardth,yugiohthailand

พื้นฐานในการเล่น


เด็ค ( Main Deck )
- เด็ค: คือกองการ์ดที่จัดเรียงไว้เพื่อใช้ในการเล่น

- จำนวนจำกัดของ Main Deck อยู่ที่เท่ากับหรือมากกว่า 40 ใบ แต่ไม่เกิน 60 ใบ (ตาม Master Rule) โดยจะประกอบไปได้การ์ดมอนสเตอร์ เวทย์ และกับดัก (การ์ดมอนสเตอร์ที่จะไม่ใส่รวมอยู่ใน Main Deck จะมี 2 ประเภท คือมอนสเตอร์ฟิวชั่น และมอนสเตอร์ซิงโคร)

- การ์ดที่มีชื่อเดียวกันจะไม่สามารถใส่ในเด็คซ้กกันได้เกิน 3 ใบ (ซึ่งรวมถึงทั้งใน Side Deck ด้วย)

- การ์ดบางใบที่อยู่ใน Banned&Restricted List ที่ประกาศโดยโคนามิ จะสามารถใส่ในเด็คได้ในจำนวนจำกัดตามที่มีระบุไว้

- ขณะเล่น กองการ์ดเราจะต้องถูกวางอยู่ในสภาพคว่ำ บนโซนที่มีไว้วางกองเด็คโดยเฉพาะ

- ในระหว่างแมทช์ จำนวนการ์ดใน Main Deck จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน



 ไซด์เด็ค ( Side Deck )
- ไซด์เด็ค: เป็นกองการ์ดพิเศษที่อยู่นอกเหนือจากเด็ค, เป็นการ์ดสำรองเพื่อนำมาใช้เปลี่ยนระหว่างแมทช์ เพื่อปรับเปลี่ยนความได้เปรียบเสียเปรียบของเด็คเรากับเด็คอีกฝ่าย

- จำนวนการ์ดในไซด์เด็ค และเมนเด็ค จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง, ระหว่างแมทช์จะให้สิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนการ์ดในเมนเด็ค กับไซด์เด็คเท่านั้น แต่ไม่สามารถนำการ์ดไซด์เด็คไปเพิ่มให้กับเมนเด็ค หรือนำการ์ดในเมนเด็คออกมารวมกับไซด์เด็คอย่างเดียวได้ (เช่น ถ้าเมนเด็คเรามี 40 ใบ และมีไซด์เด็ค 15 ใบ ตลอดแมทช์นั้น ก็ต้องมีจำนวนการ์ดเท่าเดิมตลอด)

- การ์ดที่อยู่ในไซด์เด็ค จะเป็น การ์ดมอนสเตอร์ เวทย์ และกับดัก (ในกรณีมอนสเตอร์ฟิวชั่น และมอนสเตอร์ซิงโคร จะไม่นำมาอยู่ในไซด์เด็ค แต่จะถูกวางไว้ใน Extra Deck แทน

- จำนวนการ์ดในไซด์เด็คสามารถมีได้ 15 ใบหรือน้อยกว่าก็ได้

- การ์ดที่มีชื่อเดียวกันจะไม่สามารถใส่ในเด็คซ้กกันได้เกิน 3 ใบ (ซึ่งรวมถึงทั้งใน Main Deck ด้วย)

- การ์ดบางใบที่อยู่ใน Banned&Restricted List ที่ประกาศโดยโคนามิ จะสามารถใส่ในไซด์เด็ค และรวมทั้งเมนเด็คได้ในจำนวนจำกัดตามที่มีระบุไว้ด้วย



เอ็กซ์ตร้าเด็ค ( Extra Deck )

- เอ็กซ์ตร้าเด็ค: เป็นกองการ์ดพิเศษที่อยู่นอกเหนือจากเด็ค ซึ่งจะมีแต่มอนสเตอร์ฟิวชั่น และมอนสเตอร์ซิงโครรวมอยู่ด้วยกันเท่านั้น

- การ์ดที่อยู่ในกองนี้จะอยู่แยกต่างหากจากทั้ง เมนเด็ค และไซด์เด็ค ไม่นับรวมกันด้วย

- จำนวนจำกัดของ Extra Deck จะอยู่ที่ 0 - 15 ใบเท่านั้น

- การ์ดที่มีชื่อเดียวกันจะไม่สามารถใส่ในเด็คซ้ำกันได้เกิน 3 ใบ

- การ์ดบางใบที่อยู่ใน Banned&Restricted List ที่ประกาศโดยโคนามิ จะสามารถใส่ใน Extra Deck ได้ในจำนวนจำกัดตามที่มีระบุไว้

- ขณะเล่น กองการ์ด Extra Deck ของเราจะต้องถูกวางอยู่ในสภาพคว่ำ บนโซนที่จัดไว้เฉพาะ

- ไม่จำเป็นต้องทำการสับกองการ์ดใน Extra Deck

- เอฟเฟคการ์ดที่มีระบุผลถึง "เด็ค" จะหมายถึง เมนเด็ค เพียงอย่างเดียว ไม่นับรวมถึง เอ็กซ์ตร้าเด็ค ด้วย เช่นเอฟเฟคของ หนอนเจาะเด็ค เป็นต้น

- กรณีที่มอนสเตอร์ฟิวชั่น และมอนสเตอร์ซิงโคร ถูกส่งกลับเข้าเด็ค หรือกลับขึ้นมือ, มอนสเตอร์เหล่านั้นจะถูกนำกลับเข้า Extra Deck แทน

- เราสามารถมีการ์ดใน Extra Deck ได้ถึงแม้เราจะไม่มีมอนสเตอร์วัตถุดิบใดๆ ในเด็คเราที่ใช้ในการเรียกมอนสเตอร์จาก Extra Deckได้เลยก็ตาม


การจำกัดจำนวนการ์ดที่ใส่ได้ในเด็ค
- การ์ดที่มีชื่อเดียวกันจะสามารถใส่รวมกันในเด็คได้มากสุดเพียง 3 ใบเท่านั้น

- กรณีที่การ์ดมีชื่อเดียวกัน แต่มีภาพที่เปลี่ยนไป เช่นพิมพ์รูปใหม่ หรือมีรหัสการ์ดต่างกัน ก็ยังคงนับว่าเป็นใบเดียวกันเช่นเดิม และยังคงใส่ได้มากสุด 3 ใบตามปรกติ

- กรณีที่ชื่อการ์ดไม่เหมือนกัน เอฟเฟคต่างกัน รูปต่างกัน แต่มีเอฟเฟคที่ระบุว่าให้นับว่าเป็นชื่อเดียวกัน, ก็ให้นับว่าเป็นการ์ดที่ชื่อเดียวกันนั้นและยังคงใส่ได้มากสุด 3 ใบตามปรกติ

- การ์ดที่ระบุไว้ใน Banned&Restricted List ที่ประกาศโดย Konami โดยจะใส่ได้ในจำนวนจำกัดตามที่มีระบุไว้ด้วย โดยการ์ดที่จำกัดส่วนใหญ่จะมีสาเหตุจากความแรงของการ์ดที่มีมากเกินไปเฉพาะใบ หรืออาจทำให้เกิดคอมโบรุนแรงจนทำให้ตัวเกมเสียความสมดุลไป จึงต้องมีการจำกัดจำนวนเพื่อปรับความสมดุลให้เหมาะสม. โดยจะมีการประกาศลิสต์ใหม่ทุกๆ ครึ่งปี (ช่วงเดือน มีนาคม และ กันยายน ของทุกปี)


Main Deck และ Side Deck

- กรณีที่เป็นการ์ดที่ระบุว่าอยู่ใน Banned&Restricted List ก็จะหมายความว่า สามารถใส่ได้ทั้งใน เมนเด็ค และไซด์เด็ค เพียงเท่าที่จำกัด

จำนวนไว้เท่านั้น เช่น ดาบผนึกแห่งแสง ใส่ได้เพียงใบเดียว หากมีอยู่ในเมนเด็ค 1 ใบ ก็จะไม่สามารถใส่เพิ่มในไซด์เด็คอีกได้


การใช้การ์ดผสมระหว่างการ์ดภาษาญี่ปุ่น กับภาษาอื่นๆ

- ในบางครั้งการ์ดใบเดียวกันแต่เป็นการ์ดคนละภาษา, อาจจะใช้ชื่อการ์ด และรูปไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงควรตรวจสอบการ์ดให้ดีๆ ก่อนว่าใช่การ์ดใบเดียวกันกับการ์ดต้นแบบที่เราเล่นอยู่หรือไม่

- เนื่องจากการ์ดแต่ละภาษาจะมีด้านหลังของการ์ดที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้เล่นควรใส่ซองการ์ดแบบสีทึบปิดด้านหลังไว้ขณะเล่นด้วย


อุปกรณ์ต่างๆ เสริมในการเล่นก็ยังมีอีกดังนี้
-เหรียญ จำเป็นใช้เมื่อต้องมีเอฟเฟคที่ระบุถึงการทอยเหรียญและต้องเป็นเหรียญที่มี 2 ด้าน โดยกำหนดให้ด้านหนึ่งเป็น หัว และอีกด้านเป็น ก้อย ได้

- ลูกเต๋า  จำเป็นใช้เมื่อต้องมีเอฟเฟคที่ระบุถึงการทอยเต๋าและต้องเป็นลูกเต๋าที่มี
 6 หน้าเท่านั้น และมีแต้มเลขตั้งแต่ 1 ถึง 6

- เคาเตอร์ หรือ เม็ดเคาเตอร์ เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องหมายหรือแต้มที่สามารถนำมาเพิ่มได้ทุกครั้งที่มีเอฟเฟค ระบุในการเพิ่มเคาเตอร์บนการ์ดที่ระบุไว้เครื่องหมาย หรือแต้ม ที่นำไปเพิ่มอาจใช้ คลิปหนีบกระดาษ เหรียญ ลูกเต่า หรือของอื่นๆ ที่จะสามารถนำมาใช้นับจำนวนได้ นำมาวางแทนเคาเตอร์ที่อยู่บนการ์ดโดยเอฟเฟคนั้นๆ

-มอนสเตอร์โทเค่น โทเค่น เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยเอฟเฟคของการ์ด, เป็นมอนสเตอร์ที่ไม่มีตัวการ์ดแสดงอยู่สามารถใช้ คลิปหนีบกระดาษ เหรียญ หรือสิ่งของอื่นๆ มาแทนได้, ถ้าให้ดีก็ควรเป็นสิ่งที่สามารถกำหนดให้โจมตีหรือป้องกันได้อย่างเห็น
ชัดเจนที่สุด
และตามด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ

- เครื่องคิดเลข ใช้เพื่อคำนวณไลฟ์พอยน์ของทั้ง 2 ฝ่ายให้ง่ายขึ้น

- สมุดโน้ต หรือ กระดาษ  ใช้ในกรณีที่ไม่มีเครื่องคิดเลขให้ใช้นั่นเอง

- ซองใส่การ์ด  ใช้ในกรณีที่การ์ดที่ใช้เล่นเป็นการ์ดแท้ เพื่อป้องกันไม่ให้การ์ดเกิดความเสียหายในขณะเล่น และเพื่อปิดด้านหลังของการ์ดเพราะการ์ดญี่ปุ่นและอังกฤษหรือภาษาอื่น จะมีภาพด้านหลังไม่เหมือนกัน จึงใช้เพื่อความยุติธรรมกับผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย




รูปแบบสนามในการใช้เล่น




ภายในสนามจะประกอบด้วย
A. Field Card Zone  ช่องวางเวทย์สนาม
เวทย์สนามสามารถเปิดใช้งานหรือเซ็ตคว่ำได้ในช่องนี้ เวทย์สนาม 1 ใบสามารถวางอยู่บนสนามได้แค่ใบเดียวเท่านั้น โดยนับรวมทั้งสนามเราและฝ่ายตรงข้าม

B. Monster Card Zone  ช่องวางมอนสเตอร์
สามารถลงมอนสเตอร์ในแบบหงายหน้าหรือเซ็ตคว่ำโดยจะมีจำนวนช่องที่จะวางได้เท่ากับ 5 ช่องเท่านั้น ช่องวางมอนสเตอร์มีจำนวนจำกัดได้สูงสุดแค่ 5 ช่องเท่านั้น หากมีมอนสเตอร์ครบ 5 ช่องแล้วจะไม่สามารถลงหรือเซ็ตมอนส์เตอร์เพิ่มได้อีกจนกว่าจะมีช่องให้ลงเพิ่ม

C. Extra Deck Zone  ช่องวางกองเอ็กซ์ตร้าเด็ค
หากเรามีมอนสเตอร์ฟิวชั่นหรือมอนสเตอร์ซิงโคร เราต้องนำการ์ดมอนสเตอร์เหล่านั้นทุกใบรวมกันเป็นกองเดียวกัน แล้ววางคว่ำไว้บนช่องนี้

D. Graveyard  ช่องวางสุสาน
เมื่อมีการ์ดถูกทำลายหรือถูกส่งลงสุสาน การ์ดเหล่านั้นจะอยู่บนช่องนี้ในสภาพหงายหน้า ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสามารถดูการ์ดในสุสานของตัวเองหรืออีกฝ่ายได้แต่อย่าลืมขออนุญาตผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก่อนหากจะตรวจดูการ์ดในสุสานอีกฝ่าย

E. Magic & Trap Card Zone  ช่องวางเวทย์และกับดัก
เวทย์และกับดักทุกใบสามารถเปิดใช้ทำงานแบบหงายหรือเซ็ตคว่ำได้บนช่องนี้ ซึ่งช่องวางเวทย์/กับดักนี้จะมีจำกัดสูงสุด 5 ช่องเท่านั้น ช่องวางเวทย์และกับดักมีจำนวนวางได้สูงสุดแค่ 5 ช่องเท่านั้น หากมีการ์ดที่กำลังเปิดใช้อยู่หรือเซ็ตคว่ำอยู่บนสนามแล้วครบ 5 ช่องจะไม่สามารถเปิดใช้ทำงานเวทย์จากบนมือหรือเซ็ตคว่ำการ์ดเวทย์/กับดักลงไปเพิ่มบนสนามได้อีกและเวทย์สนามจะไม่สามารถใช้งานหรือเซ็ตคว่ำได้ในช่องเหล่านี้

F. Deck Zone  ช่องวางกองการ์ด/เด็ค
ใช้วางกองเด็คของเราโดยต้องวางในสภาพคว่ำ
ซึ่งไซด์เด็ค จะถูกนำแยกออกจากสนามที่ใช้เล่น ไม่อยู่บนสนามที่ใช้เล่นด้วย



Credit by kidcardth

กติกา



เกมส์การ์ดยูกิมีการเปลี่ยนรูปแบบของกฏพื้นฐานในการเล่น โดยหากนับรวมจากอดีตจนถึงปัจจุบันก็มีวิวัฒนาการดังนี้ :

Master Rule (กำลังจะเริ่มใช้ในเดือน มีนาคม 2008)
- เริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ชุด Starter Deck 2008 เป็นต้นไป
(กำหนดออกวันที่ 15 มีนาคม 2008)

- เปลี่ยนคำที่ใช้ในการ อัญเชิญแบบบูชายัญ เป็น การอัญเชิญแบบแอดวานซ์ และ การสังเวย เปลี่ยนเป็น รีรีส

- จำกัดจำนวนการ์ดใน Main Deck จากเดิมที่ 40 ใบ แต่สามารถใส่ได้มากกว่าได้ไม่จำกัด เป็นได้น้อยสุด 40 และมากสุดแค่ 60 ใบ

- เปลี่ยนคำเรียกจาก Fusion Deck เป็น Extra Deck แทน โดยจะมีจำนวนที่ใส่ได้จำกัดด้วยแค่ 15 ใบเท่านั้น
(ใน Extra Deck นอกจากจะมี "มอนสเตอร์ฟิวชั่น" แล้ว จะมี "มอนสเตอร์ซิงโคร" รวมอยู่ด้วยในอนาคต ซึ่งเป็นการ์ดมอนสเตอร์ชนิดใหม่ที่มีกรอบเป็นสีขาว)

- จำนวนการ์ดในไซด์เด็คยังคงใส่ได้ 15 ใบเท่าเดิม แต่สามารถใส่น้อยกว่านั้นได้คือ 0-15 ใบ จากเดิมที่ต้องใส่พอดี 15 ใบเท่านั้น



New Experts Rule (เริ่มใช้เดือน มีนาคม 2000)

- เริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ชุด Magic Ruler เป็นต้นไป

- มีการปรับปรุงจากเดิมโดยแบ่งประเภทของมอนสเตอร์เอฟเฟค, เวทย์ และกับดัก เพื่อให้เห็นความแตกต่างในการใช้งานที่ชัดเจนมากขึ้นที่ เห็นได้ชัด ก็เช่น การแบ่งชนิดของการ์ดที่ถ้าเป็นการ์ดกับดัก ก็จะมีกับดักปรกติ กับดักต่อเนื่อง และกับดักเคาเตอร์ เป็นต้น และแต่ละชนิดก็มีการบัญญัติกฏการใช้งาน ให้เล่นได้เข้าใจง่ายมากขึ้น

- ผู้เล่นที่การ์ดในเด็คหมดจะเป็นฝ่ายแพ้ทันที

- ใน 1 แมทช์จะประกอบด้วยการดูเอล 3 ครั้ง, หากชนะ 1 ครั้ง และเสมอ 2 ครั้ง ก็ถือว่าผู้ที่ชนะ 1 ครั้งนั้นชนะในแมทช์นั้นด้วย

- จำนวนการ์ดในไซด์เด็คกำหนดว่า เป็น 15 ใบพอดี

- เริ่มมีการจำกัดจำนวนการ์ด หรือก็คือ เรสตริกลิสต์ ให้จำกัดว่าใบไหนที่สามารถใส่ได้แค่ 1 หรือ 2 ใบ (ภายหลังมีห้ามใส่ด้วย)

- ผู้เริ่มเล่นก่อนสามารถจั่วการ์ดจากเด็คได้ 1 ใบจากเดิมที่คนเริ่มเล่นก่อนจะไม่สามารถจั่วการ์ดได้

- กำหนดจำนวนการ์ดบนมือว่ามีจำกัดแค่ 6 ใบเท่านั้น  
(ซึ่งการ์ดที่เกินจะต้องทิ้งในช่วงเอนด์เฟสของผู้เล่นที่มีการ์ดเกินนั้นๆ แล้ว)



Official Rule

- การ์ดเวทย์ และกับดักยังไม่มีติดประเภทของการ์ด
(ไม่มีไอค่อนๆ ต่างๆ ที่แสดงว่าเป็น การ์ดเวทย์ หรือกับดักชนิดใด จึงยังไม่มีพูดถึงเกี่ยวกับความเร็วของการ์ด หรือการเชน)

- กรณีที่มีผู้เล่นที่มีการ์ดในเด็คหมดลง, ให้ยุติการเล่นนั้นทันที และผู้ที่มีไลฟ์พ้อยน์มากสุดในขณะนั้นจะถือว่าเป็นผู้ชนะในการดูเอลนั้น

- ใน 1 แมทช์จะประกอบด้วยการดูเอล 3 ครั้ง, หากชนะ 1 ครั้ง และเสมอ 2 ครั้ง ให้ถือว่ายังคง เสมอ กันอยู่

- ผู้เริ่มเล่นก่อนไม่สามารถจั่วการ์ด 1 ใบตอนช่วงดรอเฟสของเทิร์นแรกได้

- ไม่มีการกำหนดจำนวนการ์ดบนมือ ดังนั้นผู้เล่นจะสามารถมีการ์ดบนมือกี่ใบก็ได้



เกี่ยวกับเด็ค ( Deck )

- จำนวนการ์ดในเด็คต้องมีการ์ดเท่ากับหรือมากกว่า 40 ใบ และจำกัดขั้นสูงสุดอยู่ที่ 60 ใบ

- เราสามารถมีการ์ดเสริมในไซด์เด็คเราได้มากสุด 15 ใบ ผู้เล่นที่ดีควรจะมีไซด์เด็คเพื่อเอาไว้แก้ไข หรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการเล่นของตัวเองระหว่างแมทช์

- แบนการ์ดและเรสตริกการ์ดคือการ์ดที่ห้ามใส่หรือถูกจำกัดให้ใส่ได้ตามจำนวนที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งลิสต์อันนี้จะประกาศมา

โดยทาง Konami ผู้ผลิตเกมส์ยูกิการ์ด เพื่อความสมดุลย์ในการเล่นซึ่งจะมีผลกับผู้เล่นทุก ๆ คน



เกี่ยวกับไซด์เด็ค ( Side Deck )

- การ์ดที่อยู่ในไซด์เด็คนี้สามารถใส่ได้จำนวนสูงสุดคือ 15 ใบซึ่งการ์ดที่อยู่ในไซด์เด็คนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนระหว่างการดูเอลได้ แต่จะเปลี่ยน

ได้เมื่อจบดูเอลหนึ่งๆ ไปแล้วเท่านั้นจึงค่อยเริ่มเปลี่ยนให้เรียบร้อยก่อนจะเริ่มการดูเอลครั้งใหม่

- หากเรามีไซด์เด็ค เราจะต้องจัดให้มีการ์ดในไซด์เด็คเท่ากับ 15 ใบเสมอ ดังนั้นเราไม่สามารถนำการ์ดในไซด์เด็คไปเพิ่มเติมไว้เฉยๆ ได้แต่

ต้องทำการเปลี่ยนสลับการ์ดบางใบในเมนเด็คกับไซด์เด็คด้วย

- ในแต่ละแมทช์ เมนเด็ค และไซด์เด็ค จะต้องมีการ์ดซ้ำกันได้ไม่เกิน 3 ใบตามปรกติ (ไม่สามารถใส่การ์ดชื่อซ้ำกันในเมนเด็คและไซด์เด็คอย่างละ 3 ใบได้)ในกรณีนี้จะระวังการ์ดที่อยู่ในแบนและเรสตริกลิสต์ขณะนั้นด้วย



เริ่มต้นเกมส์ ( Gameplay )

- การเริ่มการดูเอล ให้ทักทายฝ่ายตรงข้ามด้วยการจับมืออย่างเป็นมิตร

- ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำการสับการ์ดเด็คของตน แล้วจึงยื่นเด็คของตนให้ฝ่ายตรงข้ามสับด้วย หลังจากนั้นจึงนำเด็คของตนกลับมาวางไว้ใน

สภาพคว่ำบนช่องวางเด็คของตนบนสนามฝั่งตัวเอง

- เมื่อต้องใช้การ์ดมอนสเตอร์ฟิวชั่นด้วย ให้นำการ์ดเหล่านั้นคว่ำไว้ในช่องวางฟิวชั่นเด็ค ซึ่งการ์ดที่อยู่ในฟิวชั่นเด็คนี้จะเป็นกลุ่มของการ์ดมอนสเตอร์ ฟิวชั่นที่จะใช้อัญเชิญแบบพิเศษตามเงื่อนไขของการฟิวชั่นหรือกรณีอื่นๆ ในระหว่างการดูเอล เช่นเมื่อมีการใช้การ์ดใช้ฟิวชั่นในการเรียกเป็นต้น
(จำนวนการ์ดที่อยู่ในฟิวชั่นเด็คจะไม่ถูกนับรวมกับจำนวนการ์ดปรกติในเมนเด็คด้วย)

- แสดงไซด์เด็คให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ว่าเรามีการ์ดในไซด์เด็คในจำนวน 15 ใบ(การ์ดเหล่านี้จะนับว่าอยู่ในสภาพคว่ำและไม่สามารถนำมาใช้ได้ในระหว่างการดูเอล) เมื่อจบการดูเอล หากเราจะทำการเปลี่ยนการ์ดในไซด์เด็คแล้วเราก็ต้องแสดงการ์ดในไซด์เด็คให้อีกฝ่ายตรวจสอบอีกครั้งว่ามีการ์ดครบตามจำนวนเดิมจริง

- ในการดูเอลแรกในแต่ละแมทช์ ให้ทอยเต๋าทายหัวก้อย หากทายถูก ผู้ที่ทายถูกจะสามารถเลือกได้ว่าจะเริ่มก่อนหรือหลัง เมื่อมีการดูเอลครั้งต่อ ไปในแมทช์เดียวกัน ให้ผู้ที่แพ้ในดูเอลรอบที่ผ่านมาจะสามารถเลือกเริ่มก่อนหรือหลังได้
(อาจเลือกวิธีอื่นในการตัดสินคนเริ่มเล่นก่อนหลังในการดูเอลแรกของแต่ละแมทช์ได้ เช่น เป่ายิ้งฉุบ ฯลฯ)

- สุดท้ายก่อนที่จะเริ่มต้นเกมส์ ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องจั่วการ์ดใบบนสุดของเด็คตนให้ครบ 5 ใบ เมื่อผู้เล่นแต่ละฝ่ายมีการ์ดครบ 5 ใบบนมือ

แล้วก็สามารถจะเริ่มต้นเกมส์ได้..



มารยาทระหว่างการดูเอล ( Manners in Dueling )

- เมื่อจะทำงานหรือสั่งใช้งานการ์ดใดให้บอกประกาศอย่างเสียงดังฟังชัดเจนขณะเล่น

- ฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์ที่จะรู้การ์ดในสุสาน และจำนวนการ์ดบนมือของเรา ดังนั้นหากเขาถาม เราจะต้องตอบด้วยความสัตย์จริง

- ไม่ทำการแตะการ์ดของฝ่ายตรงข้าม หากไม่ได้ขออนุญาติฝ่ายตรงข้ามไว้ก่อน



Credit by kidcardth